เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ตั้งมั่น) ในนามรูปนั้น เพราะเหตุนั้น วิโมกข์ของภิกษุนั้นจึงเป็นวิโมกข์ที่ไม่มีปณิหิตะ
นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์
อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 นี้ชื่อว่าอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์
พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่าพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์
ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 นี้ชื่อว่าทุภโตวุฏฐานวิโมกข์
วิโมกข์ 4 จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ปฐมฌานออกจากนิวรณ์ ทุติยฌานออกจากวิตก วิจาร ตติยฌานออกจาก
ปีติ จตุตถฌานออกจากสุขและทุกข์ นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 จากอัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (4)
วิโมกข์ 4 จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อากาสานัญจายตนสมาบัติออกจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา
วิญญาณัญจายตนสมาบัติออกจากอากาสานัญจายตนสัญญา
อากิญจัญญายตนสมาบัติออกจากวิญญาณัญจายตนสัญญา
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติออกจากอากิญจัญญายตนสัญญา
นี้ชื่อว่าวิโมกข์ 4 จากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (4-8)
วิโมกข์ 4 จากทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ โสดาปัตติมรรคออกจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส จาก
ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัยออกจากเหล่ากิเลสที่เป็นไปตามสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
จากขันธ์ทั้งหลาย และออกจากสรรพนิมิตภายนอก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :349 }